โครงสร้างองค์กรและอำนาจหน้าที่

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดนราธิวาส

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดนราธิวาส

นายซัมซูดิน รอเซะ

ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
ควบคุมดูแลงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ

โทร. 0-7351-7950 ต่อ 1944

เจ้าหน้าที่งานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ
- ว่าง -

หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
ดูแลงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ

โทร. 0-7351-7950 ต่อ 1944

นางสาวโรซัยนีย์ ก้อเด็ม

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

 

นางสาวซัยหนับ มะเด็ง

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

 

นางสาวอาสานี ปิ

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

 

นายนรากร แก้วบุตร

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

 

นายนิกร ชัยพารา

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

 

กองทุนฟื้นฟู สมรรถภาพระดับจังหวัด
เป็นกองทุนที่ก่อตั้งเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพในจังหวัดอย่างครบวงจร มีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยได้เริ่มดำเนินการนำร่องครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553

กองทุนฟื้นฟูได้รับเงินสมทบสนับสนุนจากสองหน่วยงานโดยเป็นการร่วมมือกัน ระหว่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส(อบจ.)

กองทุนฟื้นฟู สมรรถภาพจังหวัดนราธิวาส
กองทุนฟื้นฟู สมรรถภาพจังหวัดนราธิวาส จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2565 ภายใต้ความดูแลของกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส ภายใต้สโลแกน “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ปัจจุบันได้มีโครงการจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส(อบจ.) ที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฟื้นฟู สมรรถภาพจังหวัดนราธิวาส โดยมีชื่อโครงการว่า “โครงการจัดตั้งศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน/ที่บ้าน ประจำหน่วยบริการ หรือเรียกสั้นๆว่า "ศูนย์ปันสุขชุมชน" ” เพื่อเป็นศูนย์ยืมกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้มีภาวะพึ่งพิง ประจำจังหวัดนราธิวาสโดยกระจายศูนย์ทั่ว 13 อำเภอ 14 แห่ง โดยยึดถือสโลแกน “ครอบคลุม ทั่วถึง เท่าเทียม” ครอบคลุม คือ ครอบคลุม 13 อำเภอ 14 ศูนย์ ทั่วถึง คือ ทั่วถึงทุกกลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง (กลุ่มเปราะบาง) เท่าเทียม คือ ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

และยังมีโครงการศูนย์ยืมอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูแล้ว 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบาเจาะ อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอยี่งอ

นอกจากนี้ยังมีเงินสนับสนุนจากสำนักงานเลขานุการกองทุนฟื้นฟู สมรรถภาพจังหวัดนราธิวาสในด้านของการบำรุงซ่อมแซมบ้าน โดยอยู่ภายใต้โครงการชื่อว่า “โครงการบ้านปันสุข”